เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 6 คือ
1. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ
2. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเสื่อมปรากฏ
3. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
4. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ
5. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเสื่อมไม่ปรากฏ
6. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ 6 อย่างนี้
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 12 คือ
1. ทุกขสัจ มีความเกิดปรากฏ
2. ทุกขสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
3. ทุกขสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
4. สมุทยสัจ มีความเกิดปรากฏ
5. สมุทยสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
6. สมุทยสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
7. มัคคสัจ มีความเกิดปรากฏ
8. มัคคสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
9. มัคคสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
10. นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ
11. นิโรธสัจ ความเสื่อมไม่ปรากฏ
12. นิโรธสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ 12 อย่างนี้
สัจจะ 4 เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร
คือ สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ 3 นี้ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ 3 ด้วยอำนาจวัตถุ1(และ) ด้วยปริยาย

เชิงอรรถ :
1 วัตถุ ในที่นี้หมายถึงกุศล อกุศล อัพยากฤต ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.ป.อ. 2/12/232))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :436 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 2. ทุติยสุตตันตบาลี
คำว่า พึงมี อธิบายว่า พึงมีได้อย่างไร
คือ ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทยสัจเป็นอกุศล สัจจะ 2 นี้ท่านสงเคราะห์เข้า
กับสัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ 2 ด้วยความเป็นอกุศล พึงมีได้
อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นกุศล มัคคสัจเป็นกุศล สัจจะ 2 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ 1
สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ 2 ด้วยความเป็นกุศล พึงมีได้อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ 2 ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ 2 ด้วยความเป็นอัพยากฤต
พึงมีได้อย่างนี้
สัจจะ 3 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ
3 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้
ปฐมสุตตันตนิทเทส จบ

2. ทุติยสุตตันตบาลี
พระบาลีแห่งสูตรที่ 2
[13] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า “อะไรหนอแลเป็นคุณ1แห่งรูป อะไรเป็นโทษ2แห่งรูป อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณแห่งสัญญา อะไรเป็นโทษแห่งสัญญา อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากสัญญา อะไรเป็นคุณแห่งสังขาร อะไรเป็นโทษแห่งสังขาร อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไรเป็นคุณแห่งวิญญาณ อะไรเป็นโทษแห่งวิญญาณ
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้อีกว่า “สุขโสมนัส
ที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ3

เชิงอรรถ :
1-2 ดูเชิงอรรถข้อ 8/15 ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้
3 ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. 2/104/257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :437 }